1.
นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา
การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ
จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ
การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ
เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา
อุดมศึกษา และการฝึกงาน
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะจัดอย่างต่อเนื่อง
12 ปี แต่โอกาสที่ผู้เรียนจะเรียน ไม่ครบ 12 ปี เนื่องจากความจำเป็นต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ คือ เรียนครบ 9 ปี ก็ออก ผู้เรียนก็จบการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ ศ 2542 กำหนด
แต่หากผู้เรียนเรียนจบ 12 ปี เป็นการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ ไประยะหนึ่งแล้วถ้า ต้องการจะกลับ
เข้ามาศึกษาต่ออีก 3 ปี ก็สามารถทำได้ตามสิทธิที่พึงจะได้รับที่รัฐจะต้องจัดให้ข้อมูลจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษา (Education)ในมาตรา 4
ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา
มีความหมายว่า
"กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้
การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"
และมาตรา 15 ได้กำหนดระบบการศึกษา
ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์
เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล
และเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา มีดังนี้
1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ
2.
มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา
2.1
มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
2.2
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3
มาตรฐานการศึกษาพิเศษ
3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ
ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก
หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน
อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฎเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่าง
ๆ เป็น กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
ซ. ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ
นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่
หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน
รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน
โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ
และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
และนอกจากการสอนแล้วครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี
สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ฌ. ครู คำว่า "ครู"
"ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง
พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น
สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ
ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว
ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ
สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป
หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น
เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป
ญ. คณาจารย์ คือ คณะของครู - อาจารย์
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า
บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคลากรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในราชการไทย
ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ข้าราชการครู"
ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการครูที่สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานครูเทศบาล
พนักงานครูองค์การบริหารส่วนตำบล
2.
ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง
ให้อธิบาย
มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย
รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ
รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย
และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์
ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(๑)
เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๙ การจัดระบบโครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
(๑) มีเอกภาพด้านนโยบาย
และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(๒) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๓) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(๔) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู
คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา
และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๕) ระดับทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถานบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
3.
หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
-
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ ดังนี้
1.
หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย
3. หลักแห่งความเสมอภาค
4. หลักการมีส่วนรวม
5. หลักแห่งความสอดคล้อง
อุดมการณ์การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลกเพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิตรวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าีที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัวและเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนอุดมการณ์และหลักการจัดการศึกษาไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ
และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่นำเสนอคือการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการจะช่วยพัฒนาทักษะที่ต้องการให้เกิดแก่นักเรียนหลายประการไปพร้อม
ๆ กันทั้งทักษะการคิด ทักษะการจัดการ ทักษะการสื่อสารทักษะการทำงานร่วมกันโดยนักเรียนต้องมีการและใช้ความรู้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม
อีกทั้งนักเรียนยังได้เรียนรู้
คุณธรรมการอยู่ร่วมกันโดยไม่ต้องท่องจำหรือบังคับให้ทำหลักการสำคัญอยู่ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง
ทำด้วยความสุข ครูต้องเป็นผู้ที่สามารถชี้แนะ ตั้งคำถามให้นักเรียนได้แง่คิด
อดทนที่จะเห็นนักเรียนได้ลงมือคิด วางแผน ปฏิบัติด้วยตนเอง
4. การจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
หมวด 3 ระบบการศึกษา
หมวด 4 แนวกรจัดการศึกษา
5.
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
หมวดนี้มี 5 มาตรา
แต่ก็มีความสำคัญมากในกระบวนการปฏิรูปเพราะเป็นการวางพื้นฐานไปสู่การที่จะ
"ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา" ตามวรรค 2
มาตรา 8
และเป็นการกำหนดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
เพื่อตอบสนองต่อหลักการตามวรรค 1 ของมาตรา 8 มาตรา 10
การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้
หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ
ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบ
แต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
1. การศึกษาในระบบ
เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา
การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น
สามารถจัดการศึกษาในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกล
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล
เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม
สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น
เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้ เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร
การเยี่ยมชมการสาธิต การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
การจัดการศึกษาในระบบ จะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ
ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน
อาทิ ที่บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา
การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน
และการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการนั้นต้องอาศัยผลรวมของกระบวนการที่มีความ
สัมพันธ์กัน คือ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้
รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
8.
สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
หลักการและแนวคิด
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ
การบริหารงานบุคคล งบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป
ไปยังสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ
สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว
มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School
Based Management)
นักวิชาการเชื่อว่า
การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล
จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นอิสระ
สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพได้
ลักษณะ
นิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคล องค์กร
หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน เพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง
ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกันเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
ซึ่งเป็นบุคคลสมมติขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่และสามารถทำกิจการใด ๆ อันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนั้น
ประเภท
นิติบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน และนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน
1.นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน หมายถึง
นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอำนาจจากกฎหมายเอกชน
เป็นการดำเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชนและไม่มีอำนาจเหนือบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน
2.นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หมายถึง
นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายมหาชนที่เป็นการบริการสาธารณะที่เป็นอำนาจมหาชนหรืออำนาจรัฐ
สถานศึกษาที่ไม่เป็นนิติบุคคลและเป็นนิติบุคคล
มาตรา 35 ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเฉพาะที่เป็นสถานศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล
เมื่อกฎหมายให้การรับรองแต่เฉพาะสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเท่านั้น
ที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้น
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นที่มิได้อยู่ใต้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ได้แก่
1. สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.
สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3.
สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4. สถานศึกษาสังกัดส่วนราชการอื่น
5. สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. วิทยาลัยชุมชน
7. โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
9.
แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
-
การปรับความคิดของครูให้มองนักเรียนบนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้
พร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อผู้เรียนในการแสวงหาความรู้
มีอิสระในการคิด ลงมือ ปฏิบัติจริง
-
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนให้ถึง ศักยภาพสูงสุด
คือผู้เรียนได้พัฒนาตน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
หลังเรียนหรือหลังฝึกกิจกรรม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง
ภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตน
-
การยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลักในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดเชิงระบบ และคิดอย่าง มีวิจารณญาณ มีรูปแบบการคิดของตนเอง
ค้นพบตนเอง สามารถเชื่อมโยง ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่าง ๆ
ไปใช้ในชีวิตจริงได้
-
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ยึดหลักความแตกต่างระหว่าง บุคคล
-
การจัดประสบการณ์โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการ
คุณธรรมในการจัดประสบการณ์ทุกกลุ่มวิชา และทุกขั้นตอนในการจัดการ เรียนรู้
ถือว่าครูทุกคนมีหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้ประพฤติตนยึดหลักคุณธรรม
และพัฒนาให้มีค่านิยมอันพึงประสงค์
-
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้กระบวนการเรียน
รู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้วิธีวัดและประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง
และถือว่า การวัดและประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ และใช้กระบวนการ
วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
10.
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่าการที่ได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพครูนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเรื่อง
เพราะถ้าไม่อย่างนั้น ใครก็มาสอบเป็นครู รับราชการได้เหมือนกันหมด
จึงทำให้คำว่าวิชาชีพครูค่อย ๆ หายไปจากสังคมไทย
11.
มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างไรบ้าง
1. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ
3. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
4. ดำเนินการวางแผนการระดมทรัพยากร
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ
โดยการจัดประชุมผู้ปกครอง จัดประชุม
6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ
12.
การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีพัฒนาได้อย่างไร
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จนั้น
ครูผู้สอนจะต้องทำการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อม ๆ
ไปกับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
มีดังต่อไปนี้
1.. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ เนื้อหา
2. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
เนื้อหา
3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ควรพิจารณาลักษณะของกิจกรรม ดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติอย่างตื่นตัว
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดแก้ปัญหา
หรือพัฒนาชิ้นงาน หรือ โครงการ
4. ต้องคำนึงให้ผู้เรียนร่วมเรียนรู้ หรือทำงานเป็นกลุ่ม
4. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น
ว่าจะต้องใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทใดที่ช่วยสร้างความเข้าใจในความคิดรวบยอดนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดยเน้นกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการที่ผู้เรียนต้องลงมือค้นหาคำตอบ
ทำความเข้าใจด้วยตนเอง หรือสะท้อนการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5. จัดเตรียม สื่อการเรียนรู้ อาจจะผลิตขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม
อาจอยู่ในรูปของ
1. ชุดการทดลอง
2. ชุดกิจกรรม
3. สิ่งตีพิมพ์ เช่น เอกสาร ตำรา วารสาร
4. เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต E-Learning มัลติมีเดีย Web-based
learning
5. แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
6. แหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
6. นำไปใช้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ
เช่น
1. ผู้เรียน
2. ครูผู้สอน
3. สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
7. ประเมินผลสื่อ โดยพิจารณาจาก
1. ประเมินผลผลิต คือ ประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้
โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา
ด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อ และด้านประเมินผล
2. ประเมินบริบทการใช้
เพื่อหาบริบทที่เหมาะสมในการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพจริง เช่น
การจัดจำนวนสมาชิกในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่ใช้ Web-based learning
3. ประเมินด้านความคิดเห็น เจตคติที่มีต่อการเรียนจากสื่อการเรียนรู้
4. ประเมินด้านความสามารถ (Performance)
ของผู้เรียน
ความสามารถของผู้เรียนประเมินได้จากการกระทำที่แสดงออกโดยตรงจากการทำงานด้านต่าง ๆ
ตัวอย่างเช่น สถานการณ์ที่กำหนดให ที่เป็นสภาพจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานจริง อาจประเมินได้จาก กระบวนการทำงาน
กระบวนการคิด (Cognitive process) โดยเฉพาะการคิดในระดับสูง
(higher-order thinking) ได้แก่
การคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์วิจารณ์ การคิดแบบสร้างสรรค์ การคิดเชิงเหตุผล
เป็นต้น นอกจากนี้อาจประเมินเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการการแก้ปัญหา
5. ประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน