วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาค

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คำว่าศีลธรรม มาจากคำว่า ศีล และ ธรรมะ ซึ่งมีความหมายดังนี้
ศีล จึงแปลว่า สมบัติ และสมบัติที่เราจะได้นั้น จำเป็นต้องมีศีลก่อน ถ้าขาดศีล ก็ขาดสมบัติ จะรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ก็ต้องมีศีล ซึ่งตามปกติกายวาจามักจะเรียบร้อยยาก แต่ถ้ามีศีลเข้าไปกำกับ มันก็จะเรียบร้อยดี
ธรรมะ หมายถึง ทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ต้องมีธรรมะ 4 ข้อไว้ประจำใจ นั่นก็คือ
1. ความจริงใจ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง จะอยู่ที่ไหน อยู่ในฐานะเช่นใด ก็ขอให้เป็นคนซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเองและคนอื่นรอบข้าง
          2. การฝึกฝนข่มใจ เมื่อมีความซื่อสัตย์ จริงใจแล้วยังไม่พอ ต้องมีการข่มใจ ฝึกฝน ฝึกนิสัยและปรับตัว รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้า ด้วยปัญญาความรู้
 3. ความอดทน เมื่อมีความซื่อสัตย์ จริงใจแล้ว ฝึกฝนข่มใจแล้ว ก็ยังไม่พอ จำต้องมีความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหวในจุดมุ่งหมาย บางคนซื่อสัตย์จริง ข่มใจจริง แต่ไม่อดทน เจอเรื่องหนักใจก็ยอมแพ้ สู้ไม่ไหว ต้องอดทนด้วย จึงจะถึงจุดหมาย
4. ความเสียสละ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ต้องมีความเสียสละ เสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ผู้มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลังมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังกาย บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังสติปัญญา ทุก ๆ ครั้งที่ช่วยเหลือ ก็มีความกรุณาสงสารเป็นเบื้องหน้า มุ่งที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
ดังนั้น ศีลธรรม หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม
จารีตประเพณี  คือ ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งแต่เดิมนั้นกฎหมายก็มีที่มาหรือได้รับแนวทางจากจารีตประเพณีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่จารีตประเพณีที่จะนำมาอุดช่องว่างของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 นั้น ต้องมีสาระสำคัญคือ
          -ต้องเป็นจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติของคนในสังคม
          -จารีตประเพณีนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหรือศีลธรรมอันดีทั้งหลายของคนในสังคม
-จารีตประเพณีนั้นต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งความหมายของจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น หมายถึงจารีตประเพณีของประเทศไทยเรานั่นเอง
          -จารีตประเพณีนั้นต้องมีเหตุผลและความเป็นธรรม
 กฎหมาย คือ  กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่ง คสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง 
ตอบ ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้ ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด
พระบรมราชโองการ
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้ ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ 
ตอบ ผมคิดว่า การลงโทษเด็กอย่างรุนแรงเพียงเพราะเด็กอ่านหนังสือไม่ออกนั้น ไม่ใช่สาเหตุที่สมเหตุสมผลที่คนเป็นครู หรือใครก็แล้วแต่ที่ทำกัน คนเป็นครู ควรใช้เหตุผลและหลักจิตวิทยามาใช้การการสอนเด็กให้เกิดอ่านเรียน ให้มีความสามารถในการอ่าน ถ้าหากเด็กอ่านไม่ออกแล้วแล้วลงโทษดังกล่าว เด็กคนนั้นก็จะกลัวที่อ่าน หรือไม่อยากจะอ่านและเรียนอีกต่อไปเลย ดังนั้นคนเป็นครูต้องรู้เรื่องกฎหมายการศึกษาอีกด้วย เพื่อสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามครรลองครองธรรม
4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
S ข้าพเจ้าเป็นคนเข้มแข็ง อารมณ์เย็นเยือก และเป็นคนใช้เหตุผลเสมอมา
W ข้าพเจ้ามักจะประมาทในเรื่องที่ตนเองมั่นใจ จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดหลาย ๆ ประการ
O ข้าพจะไม่ประมาท และพยายามทบทวนสิ่งต่าง ๆ ใช้หลักการคิดและเหตุผลอย่างละเอียดรอบคอบ
ข้าพเจ้ามักจะเกิดอาการลืมตัวได้ง่าย จึงทำให้ประมาทเสมอ
5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย
          อาจารย์สอนดีมาก มีการพูดคุย และอธิบายการสอนได้อย่างละเอียด เพราะอาจารย์มีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ มีเหตุผลและเข้าใจนักศึกษา
          ข้อดี คือ อาจารย์มีอารมณ์เย็นมาก พูดคุยสันทักเจรจา
          ข้อเสีย -


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น