วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่จะสอบได้ชั้นที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับจึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวจึงจำเป็นต้องพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยประจำ หรือที่เด็กรับใช้งาน
ข.เด็ก หมายความว่า เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงย่างเข้าอายุปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว  
ค.การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องุถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถารศึกษาอยู่ในสังกัด

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็ก เข้าเรียน
ตอบ ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กได้รับแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนแล้ว ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 13 และผู้ใดกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 15 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันตามมาตรา 6
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ในสังคมปัจจุบัน พ่อแม่มักจะตามใจลูกจนมากเกินไป บางคนถึงขั้นไม่อยากขัดใจลูกทั้ง ๆ ที่ลูกทำผิด ไม่ยอมเข้าเรียน หรือออกจากโรงเรียนเพื่อเที่ยวเตร่ ดังนั้นจากการที่ผมได้อ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ จึงทำให้ผมคิดว่าประเด็นนี้สำคัญมากที่สุด ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กได้รับแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนแล้ว ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 13 และผู้ใดกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 15 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันตามมาตรา 6”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น