วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เพราะว่ากฎหมายข้อบังคับ หรือเปรียบเสมือนกติกา ที่ทุกคนในประเทศนั้น ๆ ต้องเคารพและยึดถือปฏิบัติตาม ถ้าหากไม่มีกฎหมาย ก็จะทำให้ประชาชนอยู่กันอย่างไม่สงบสุข มีภัยคุกคาม มีการฉ้อฉล การทำร้ายร่างกาย การทุจริตทุกอย่าง และอื่น ๆ
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่ หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมนี้จะอยู่ไม่ได้ เพราะถ้าหากไม่มีกฎหมายแล้ว คนจะไม่เกรงกลัว และกล้ากระทำผิดทุกอย่าง เช่น การคุกคามทางเพศ การทะเลาะวิวาทถึงขั้นเสียชีวิต จนทำให้สังคมนั้นไม่สงบสุข
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
 ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ค. ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
2. จารีตประเพณี ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
3. หลักกฎหมายทั่วไป ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. จารีตประเพณี ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
2. คำพิพากษาของศาล จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ง. ประเภทของกฎหมาย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระราชกฤษฎีกา
5. กฎกระทรวง
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ เพราะว่าการที่ทุกประเทศมีกฎหมายนั้น เพื่อให้ประเทศนั้น ๆ มีความสงบสุขภายในประเทศ และให้ประชาชนเกรงกลัวการกระทำผิด เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงทำให้ประชาชนมีความผาสุกกันถ้วนหน้า
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย หมายถึง กฎหมายต้องมีสภาพบังคับเพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ภาพบังคับให้ทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกัน คือ หากเป็นโทษสูงสุดจะใช้วิธีประหารชีวิต ซึ่งปางประเทศให้วิธีการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า แขวนคอ แต่ประเทศไทยในปัจจุบันให้นำไปฉีดยาให้ตายใช้วิธีประหารด้วยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากนั้นก็เป็นการจำคุก เป็นการเอาตัวนักโทษควบคุมในเรือนจำ ซึ่งต่างกับกักขังเป็นการเอาตัวไปกักไว้ที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ เช่นที่อยู่ของผู้นั้นเอง หรือสถานที่อื่นที่ผู้ต้องกักขังมีสิทธิดีกว่าผู้ต้องจำคุก สำหรับกฎหมายไทยโทษกักขังจะใช้เฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดครั้งแรก และความผิดนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ศาลจึงจะลงโทษกักขังแทนจำคุกได้ ส่วนการปรับคือ ให้ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
ภาพบังคับในทางแพ่งก็ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตกเป็นโมฆะ การทำนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยก็ดี เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี ตกเป็นโมฆะ การให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากการไม่ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกละเมิดเป็นต้น
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
          1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเภณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
          2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป
          3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายน้อยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ  
          4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเภณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเภณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า  ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น  ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย  ประกอบด้วย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระราชกฤษฎีกา
5. กฎกระทรวง
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระ สำหรับการยกเลิกหรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในตัวรัฐธรรมนูญเองจะกำหนดวิธีการยกเลิก หรือแก้ไขที่ยากกว่าการออกพระราชบัญญัติ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการแก้ไขบ่อยนัก การแก้ไขหรือการที่จะออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจึงต้องเป็นเรื่องที่จำเป็น จริง
2. พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระเช่นเดียวกัน การยกเลิกหรือแก้ไขสามารถกระทำได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ
3. พระราชกำหนด มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่การออกพระราชกำหนดจะมีวิธีที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชกำหนดจะออกโดยคณะรัฐมนตรี การที่จะออกพระราชกำหนดได้จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ เท่านั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย ซึ่งจะต่างกับพระราชบัญญัติตรงที่พระราชบัญญัติกว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ก็ ต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ แต่พระราชกำหนดเพียงแค่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้แล้ว เพียงแต่ว่าพระราชกำหนดนั้น เมื่อออกมาแล้วหากอยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบทันที แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อให้สภาเห็นชอบทันทีที่เปิด สมัยประชุม และเมื่อนำเข้าสู่สภาแล้ว หากสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ใช้บังคับได้ต่อไปเหมือนกับพระราชบัญญัติ แต่หากสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะตกไปไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อ ไป แต่จะไม่กระทบกระเทือนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วตามที่พระราชกำหนดนั้นบัญญัติไว้
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีฐานะการบังคับใช้ที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด การออกพระราชกฤษฎีกาจะต้องมีกฎหมายประเภทพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาไม่สามารถออกได้เองโดยลำพัง ผู้ที่ออกพระราชกฤษฎีกาคือคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบอีก
5. กฎกระทรวง มีฐานะที่รองลงมาจากพระราชกฤษฎีกาอีกทีหนึ่ง ผู้ที่ออกกฎกระทรวงก็คือรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้น การออกจะต้องออกโดยมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้ เมื่อออกแล้วสามารถใช้บังคับได้ทันที สำหรับ ประกาศคณะปฏิวัติ นั้น จะมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่การออกจะออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งกุมอำนาจในขณะนั้น และจะมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก การยกเลิกนั้นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติยกเลิก
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย


ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศวา่ จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำ ผิดหรือถูก
          ตอบ รับบาลกระทำผิด เพราะว่ารับบาลก้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน รัฐบาลคือ ทาสของประชาชน ประชาชนมีสิทธิของตนเองที่จะเรียกร้องประชาธิปไตย และอีกอย่างหนึ่ง ประชาชนได้ประกาสว่าจะชุมนุมกันอย่างสงบ แต่รัฐบาลห้ามปรามการชุมนุม เท่ากับว่ารับบาลได้ริบรอนสิทธิของประชาชน และเป็นการกระทำผิดอย่างมหันที่รัฐบาลทำร้ายประชาชน
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
          ตอบ กฎหมายการศึกษาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา หรือกฎหมายที่ครูและนักเรียนต้องรู้ เพื่อนำไปปฏิบัติตาม
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง

          ตอบ ถ้าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายการศึกษา ก็จะทำให้เรามีความลำบากเมื่อมีความคดีความ หรือกระทำผิดต่อกฎหมายการศึกษา แต่ถ้าหากเราได้เรียนวิชานี้ ก็จะทำให้เรามีความระมัดระวังในชีวิตครูมากขึ้น และทำให้เรามีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาที่จะทำอะไรก็ตาม และทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอย่างสันติและสงบสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น